Active and Passive Voice
ประโยค Active Voice คือ ประโยคที่มีประธานเป็นทำกริยานั้นโดยตรง โดยที่จะมีโครงสร้างประโยคง่ายๆแบบนี้
Subject + Verb
ยกตัวอย่างเช่น
I eat breakfast.
(ฉันทานอาหารเช้า)
Jojo works so hard.
(โจโจ ทำงานอย่างหนัก)
ประโยค Passive Voice คือ ประโยคที่มีประธานเป็นผู้ถูกกระทำ เราจะใช้โครสร้างแบบนี้เมื่อ เราให้ความสำคัญของสิ่งที่ถูกกระทำมากกว่าประธาน สนใจผลที่เกิดขึ้น โดยที่จะมีโครงสร้างปรโยคแบบนี้
Subject + Verb to be + Verb 3 (Past Participle)
เราจะมีหลักการในการเปลี่ยนประโยคจาก Active Voice ให้เป็น Passive Voice ดังนี้
กรณีที่ 1 ประโยคมีกรรมเพียงตัวเดียว
1. เปลี่ยนกรรมให้มาเป็นประธานในประโยค
2. ทำการเติม Verb to be ซึ่งมีความเหมาะสมกับ Tense และ ประธาน แล้วตามด้วยกริยาที่เปลียนรูปเป็น Verb 3 (Past Participle)
3. เปลี่ยนประธานเป็นกรรมของประโยค ซึ่งเราจะต้องใส่ by เพื่อแสดงความหมายให้สมบูรณ์
ยกตัวอย่างเช่น
Active: I fix my house.
(ฉันซ่อมบ้านของฉัน)
I เป็น ประธาน
fix เป็น กริยาที่เป็นปัจุบันกาล (Verb 1)
my home เป็นกรรม
เราลองเปลี่ยนตามกฎได้ดังนี้
Passive: My home is fixed by me.
(บ้านได้รับการซ่อมโดยฉัน)
กรณีที่ 2 ประโยคมีกรรมตรง (Direct Object) และกรรมรอง (Indirect Object)
Active: My boss assigns me this project.
(เจ้านายได้สั่งงานโปรเจคนี้ให้กับฉัน)
ในประโยคนี้มีกรรมตรง (Direct Object) คือ this project
ในประโยคนี้มีกรรมรอง (Indirect Object) คือ me
เราสามารถสร้างประโยคแบบ passive voice ได้ 2 แบบคือ
1. เอากรรมรอง (Indirect Object) ขึ้นมาเป็นประธาน แบบนี้เป็นแบบที่นิยมใช้กันมากกว่า เราสามารถเขียนได้ดังนี้
Passive: I am assigned this project by my boss.
(ฉันได้ถูกสั่งงานโรปเจคนี้โดยนายของฉัน)
2. เอากรรมตรง (Direct Object) ขึ้นมาเป็นประธาน แต่เราต้องใส่ to ข้างหน้ากรรมรอง (Indirect Object) ไปด้วยเราสามารถเขียนได้ดังนี้
Passive: This project is assigned to me by my boss.
(โรเจคนี้ถูกสั่งงานมาให้ฉันโดยนายของฉัน)
ข้อสังเกตและควรจำสำหรับ Passive Voice มีดังนี้
1. เราอาจจะละเว้นคำว่า by ซึ่งใว้แสดงผู้กระทำ ได้ในกรณีต่างๆดังนี้
1.1. ใช้ในประโยคนั้นเป็นที่รู้กันอยู่แล่วว่าใครเป็นคนกระทำ ยกตัวอย่างเช่น
Thai is spoken here.
ในที่นี้เราละคำว่า by Thais เพราะว่าเป็นที่ทราบกันว่าคนพูดเป็นคนไทย
1.2. ใช้ในประโยคที่เราไม่ทราบว่าใครเป็นคนกระทำอย่างแน่นอน ยกตัวอย่างเช่น
Firework was invented in China.
(ดอกไม้ไฟได้ถูกประดิษฐ์ในจีน)
ในกรณีนี้เราไม่ทราบว่าใครเป็นคนประดิษฐ์ดอกไม้ไฟจึงต้องละไว้
1.3. ประโยคนั้นไม่ต้องการที่จะเน้นผู้กระทำ ยกตัวอย่างเช่น
This document will be distributed by next week.
(เอกสารอันนี้นั้นจะถูกแจกจ่ายภาพในสัปดาห์หน้า)
2. คำกริยาบางคำไม่สามารถทำให้เป็นประโยค Passive ได้เช่น
2.1. คำกริยาที่ไม่ต้องการกรรม (Intransitive Verb) ยกตัวอย่างเช่น
He swims so well.
(เขาว่ายน้ำได้อย่างดี)
2.2. กริยาที่ไม่สมบูรณ์ด้วยตัวเอง (Linking Verbs) ซึ่งเป็นคำกริยาที่ต้องมีส่วนสมบูรณ์ ( complement ) เข้ามาช่วยจึงจะได้ความหมายสมบูรณ์โดยไม่ต้องมีกรรม เช่น
be | wind up | sound | get |
prove | seem | stay | smell |
go | turn | appear | look |
taste | come | turn out | remain |
feel | become | grow | end up |
ยกตัวอย่างเช่น
I feel bad today.
It sounds good to me.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น